7 เครื่องมือควบคุมคุณภาพ ( 7 QC Tools )

          การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องใช้ข้อมูลทางสถิติที่เกิดขึ้นจริงมาใช้วิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านคุณภาพ โดยจะมีเครื่องมือที่ช่วยเข้ามาควบคุมด้านคุณภาพอยู่ทั้งหมด 7 เครื่องมือ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยยยยย……

          1. แผนภูมิพาเรโต  (Pareto diagram)  เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงสาเหตุของปัญหาด้วยหลักการ 80 – 20  โดยแสดงสาเหตุหลักและรองตามลำดับ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าสาเหตุใดสำคัญและควรที่ปรับปรุงปัญหานั้น ๆ ก่อน

           2. แผนภูมิฮีสโตแกรม (Histogram) เป็นแผนภูมิใช้ในการเปรียบเทียบลักษณะการกระจายหรือดูความแปรปรวนของข้อมูลกับข้อกำหนดเฉพาะ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของกระบวนการผลิตนั้น ๆ โดยแกนตั้งจะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกในส่วนของความถี่ และมีแกนนอนเป็นข้อมูลของคุณสมบัติของสิ่งที่เราสนใจ โดยเรียงลำดับจากน้อยไปมาก

           3. แผนภาพก้างปลา (Fishbone Diagram) เป็นแผนภาพที่แสดงในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาที่ต้องการแก้ไข กับสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา แผนภาพก้างปลาจะช่วยให้เราสามารถมองภาพรวมของปัญหาได้ง่ายขึ้น แผนภาพก้างปลาจะมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา โดยส่วนหัวของก้างปลาจะแสดงปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนก้างปลาหลักจะแสดงสาเหตุหลัก และก้างปลาย่อยจะแสดงถึงสาเหตุย่อย

            4. แผนภูมิควบคุม (Control Chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้สำหรับติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิต และปรับปรุงให้กลับเข้าสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว โดยลักษณะของแผนภูมิจะเป็นกราฟ โดยมีแกน X แสดงถึงคุณลักษณะของข้อมูลที่ควบคุม และแกน Y แสดงถึงเวลาหรือตัวอย่างของข้อมูลที่เก็บมาตามลำดับเวลา

Cr. https://qcclass.files.wordpress.com/2007/03/chart.gif

           5. แผนภาพการกระจาย (Scatter Diagram) เป็นผังที่ใช้แสดงค่าของข้อมูลที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด ที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ว่ามีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อใช้หาความสัมพันธ์ที่แท้จริง

          6. กราฟ (Graph) เป็นแผนภาพที่อธิบายความแตกต่างของข้อมูลจากการเก็บบันทึก นำเสนอข้อมูลที่ง่ายและสะดวกต่อการแปรความหมาย สามารถให้รายละเอียดของการเปรียบเทียบได้ดีกว่าวิธีอื่นในเครื่องมือ 7 QC Tool

           7. ใบตรวจสอบ (Check Sheet) เป็นเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพตัวแรกที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมกระบวนการผลิตจะเป็นผู้บันทึก  Check Sheet จะมีหลายประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละกระบวนการ  ตั้งแต่การตรวจสอบวัตถุดิบ ตลอดถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุและติดตามผลการดำเนินงาน

Cr. https://www.welovesafety.com/17290220/check-list

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *