แนวคิด ECRS เพื่อขจัดความสูญเปล่าในการทำงาน

 

              หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับแนวคิด ECRS เป็นอย่างดี แต่จะมีซักกี่ท่านที่สามารถนำมาใช้ได้อย่าง       แท้จริงและเห็นผลโดยชัดเจน วันนี้เรามาลองทบทวนกันอีกซักครั้ง

        แนวคิด ECRS เป็นหนึ่งในเทคนิคพื้นฐานของการปรับปรุง ที่ได้จากการเก็บข้อมูล หรือการศึกษาการเคลื่อนที่      (Motion Study) ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากในการปรับปรุงวิธี หรือปรับปรุงขั้นตอนการทำงานเนื่องจากเป็น      แนวคิดที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และค่อนข้างจะครอบคลุมแนวคิดของวิธีการปรับปรุง พัฒนาการทำงานในทุก ๆ ด้าน

        โดย ESRS นั้นเป็นอักษรนำหน้าของทั้ง 4 หลักแนวคิด ได้แก่ E = Eliminate (การกำจัด) C = Combine        (การรวมเข้าด้วยกัน) R = Re-arrange (การจัดลำดับใหม่) S = Simplify (การทำให้ง่ายขึ้น)

        โดยทั้ง 4 แนวคิด จะถูกนำมาตั้งคำถามเพื่อใช้เป็นแนวทางในการหาวิธีการปรับปรุง  ซึ่งสามารถขยายความ        หมายของแต่ละหลักการของ ECRS เพื่อครอบคลุมแนวคิดการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้

               1. หลักการกำจัด (Eliminate) เป็นการกำจัด หรือการยกเลิกกิจกรรม ที่ไม่ทำให้เกิดคุณค่า (Non –      Value) ซึ่งก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นความสูญเปล่า (Muda) เช่น

                  – การกำจัดการเคลื่อนที่ หรือการเดินทาง ของพนักงาน

                  – การกำจัดกิจกรรมของการตรวจสอบคุณภาพออก เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน

                  – การกำจัดเวลาที่เกิดจากการรอคอยงาน

                  – การกำจัดกิจกรรมการค้นหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือข้อมูล

               อย่างไรก็ตามในบางกรณีที่ไม่สามารถกำจัดกิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดมูลค่านั้นได้ ก็ยังสามารถใช้ “หลักการ      บรรเทา หรือลดลง” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจาก หลักการกำจัด เพื่อทำให้ลดน้อยลงได้เช่นกัน อาทิเช่น

                  – ลดระยะทางการเคลื่อนที่ ของพนักงาน

                  – ลดจำนวนครั้งในการตรวจสอบคุณภาพลง แต่ยังคงคุณภาพของชิ้นงาน

                  – ลดเวลาการรอคอยงานที่เกิดขึ้น

                  – ลดเวลาการค้นหาสิ่งของ หรือข้อมูล

              2. หลักการรวมเข้าด้วยกัน (Combine) เป็นการรวบรวมกิจกรรมการทำงาน หน้าที่การทำงาน รวมถึง        อุปกรณ์ หรือเครื่องมือการทำงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น

                  – การรวมกิจกรรมที่ต่อเนื่องกัน แต่ยังคงได้ผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

                  – การรวมหน้าที่ของพนักงานซ่อมบำรุง โดยมอบหมายให้พนักงานประจำเครื่อง เป็นผู้แก้ไขปัญหา        เบื้องต้น

                  – การรวมเครื่องมือหลายเครื่องมือ มาเป็นการใช้เครื่องมือแบบเดียวกัน  เพื่อลดเวลาการเปลี่ยน          เครื่องมือ และใช้ประโยชน์ของเครื่องมืออย่างคุ้มค่า

             อย่างไรก็ตามหลักการดังกล่าว จะเป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับ “หลักการแยกออก” ซึ่งเป็นหลักการ ที่แยก      กิจกรรม หรืองานออกจากกัน เพื่อลดภาระงาน หรือลดความซ้ำซ้อน ดังนั้นการเลือกใช้หลักการ รวมเข้าด้วยกัน          ต้องคำนึงถึง การมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของภาพรวมเป็นสำคัญ

             3. หลักการจัดลำดับใหม่ (Re-arrange) เป็นหลักการที่คำนึงถึง การเปลี่ยน หรือสลับลำดับขั้นตอนการ        ทำงานใหม่ เช่น ลำดับของการหยิบงาน หรืออุปกรณ์ที่นำไปใช้ในการทำงาน การกำหนดแผนลำดับการผลิตใหม่          (Scheduling) ทำให้เกิดเวลาในการผลิตโดยรวมลดลง ในการเลือกใช้หลักการนี้มาใช้ปรับปรุงการทำงาน  อาจส่ง        ผลทางอ้อมกับบางกิจกรรมที่ถูกกำจัดออกไป เช่น ระยะทางการเคลื่อนที่ลดลง รอบการปรับตั้งเครื่องจักรลดลง          เป็นต้น

            หลักการจัดลำดับใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาการเคลื่อนที่ หรือขนย้ายของวัตถุดิบ ชิ้นงาน ให้เกิด        ความราบรื่น รวมถึงการลดเวลาการเดินทางของพนักงานในการประสานงาน แต่ในบางครั้ง เมื่อมีการปรับเปลี่ยน        กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กร ส่งผลกระทบต่อรูปแบบ และปัจจัยในการผลิตแบบเดิม อันก่อให้เกิด การไหลของ      การผลิตที่ไม่เหมาะสม การปรับตั้งเครื่องจักรบ่อย หรือซับซ้อนมากขึ้น  จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักการบางอย่างมาช่วย      ในการปรับปรุง ได้แก่ หลักการวางผังใหม่ คือ การปรับปรุงปัจจัยการทำงานโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิด      ประสิทธิภาพ ซึ่งหลักการนี้ เป็นส่วนขยายมาจาก หลักการจัดลำดับใหม่

             4. หลักการทำให้ง่ายขึ้น (Simplify) เป็นการคิดค้น ออกแบบ และปรับปรุงวิธีการ ทำงานใหม่ ให้เกิดการ      ทำงานที่สะดวก และง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยอาจจะเกิดจากการพัฒนา หรือสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร ต่างๆ        มาใช้ในการทำงาน ซึ่งอาศัยการศึกษาหลักการทางเศรษฐศาสตร์การเคลื่อนไหว หลักการยศาสตร์ เทคนิคการป้องกัน      ความผิดพลาดในการทำงาน มาออกแบบเพื่อการทำงาน อาทิเช่น

                 – การพัฒนาอุปกรณ์มาช่วยยึดจับชิ้นงาน แทนการใช้มือของพนักงาน

                 – การใช้เทคโนโลยีสำหรับการสื่อสาร แทนการเคลื่อนที่ของพนักงานที่ต้องการสื่อสาร

                 – ออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการประกอบงานที่ง่ายขึ้น ลดเวลาในการทำงาน

              อย่างไรก็ตามหลักการทำให้ง่ายขึ้น ก็ยังสามารถใช้ “หลักการเลือก” ซึ่งเป็นหลักแนวคิดที่ขยายมาจาก          หลักการทำให้ง่ายขึ้น กล่าวคือ หลักการเลือกเป็นแนวคิด เพื่อคัดเลือกปัจจัยต่าง ๆ ในการทำงานให้เหมาะสมกับ          ลักษณะงาน รวมถึงการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ ให้เหมาะสมโดยพิจารณาจากความสามารถของพนักงาน อาทิเช่น

                 – กำหนดพนักงานเพศชายที่รูปร่างสูง ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่จัดกับสินค้าที่สูง และสินค้ามีน้ำหนักมาก

                 – การเลือกไฟส่องสว่าง เพื่อให้พนักงานมองเห็นที่ง่ายขึ้น

                 – เลือกโต๊ะ และเก้าอี้ให้เหมาะสมกับพนักงานผู้ใช้งาน

              สรุปได้ว่า แนวคิด ECRS เป็นแนวคิดที่ส่งผลทต่อการปรับปรุง พัฒนาการทำงานอันทรงพลังเป็นอย่าง        มาก และซึ่งสามารถประยุกต์ ใช้ได้กับการทำงานทุกประเภท แต่ก็ยังคงต้องมีแนวคิดด้านอื่นมาสนับสนุน  เพื่อให้เกิด      ผลและตรงตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง

 

Thank you CR.กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *